วันก่อนไปฟังสัมมนา Social Life on the Move ว่าด้วย Mobility Studies ที่ศึกษาการเคลื่อนย้ายของคนและสิ่งของในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทางสังคมในโลกยุคใหม่ ซึ่งสังคมไม่ได้เป็นหน่วยที่หยุดนิ่ง คงตัวอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆ อีกแล้ว การเคลื่อนย้ายของคนไม่ใช่แค่ การอพยพ (migration) แบบคนจีนโพ้นทะเลหอบเสื่อผืนหมอนใบมาตั้งรกรากอีกต่อไป แต่เต็มไปด้วยการเคลื่อนย้ายที่หลากหลายซับซ้อน เคลื่อนไปเคลื่อนมา เคลื่อนช้าเคลื่อนเร็ว และในการที่บางคนเคลื่อนย้ายไปได้ บางทีก็เพราะมีบางคน “คอย” อยู่ที่บ้าน ไม่เคลื่อนไปไหน
เคลื่อนคือไม่เคลื่อน ไม่เคลื่อนก็คือเคลื่อน เชดเด้
ในเคสหนึ่งก็คือ คู่สามีภรรยาที่เคยไปทำงานใช้แรงงานในต่างประเทศกันทั้งคู่ ต่อมาสามีไปทำงานออสเตรเลีย ส่วนภรรยากลับมาอยู่ไทย สามีส่งเงินมาให้เดือนละไม่น้อย คนในหมู่บ้านมองว่าเธอโชคดี มีเงินใช้สบายๆ แต่เธอกลับรู้สึกอึดอัด อยากกลับไปทำงาน ถึงขั้นแอบติดต่อนายหน้าไปทำงานเกาหลี แต่สุดท้ายก็ไปไม่ได้ เพราะต้องอยู่ดูแลแม่สามีซึ่งมีตัวคนเดียว ไม่เหลือใครคอยดูแล
แต่จริงๆ แล้วสาระก็คือ ฟังๆ ไปแล้วจู่ๆ ก็นึกถึงพระคุณท่านจอห์น ดันน์ ซึ่งเป็นผู้นำเทรนด์ด้าน Mobility Studies มาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 16 และเป็นพระอาจารย์ด้านการจีบสาวของเรา ครั้งที่ยังหนุ่ม ท่านได้เขียนบทกวี “คำอำลา: จงอย่าอาลัย” (A Valediction: Forbidding Mourning) ว่าด้วยนานาเหตุผลที่หญิงสาวไม่ควรโศกเศร้ากับการจากลาไปของชายหนุ่ม (บุคคลที่หนึ่งในบทกวี)
If they be two, they are two so
As stiff twin compasses are two;
Thy soul, the fixed foot, makes no show
To move, but doth, if the other do.
ในตอนต้นก่อนหน้านี้ ชายหนุ่มยืนยันว่า ดวงจิตของเราสองนั้นเป็นหนึ่งเดียว ไม่อาจพรากจากกัน แต่หากเป็น 2 เสียแล้ว ก็เป็นดั่งขาสองข้างของวงเวียน ข้างหนึ่งปักหลักอยู่กับที่ ในขณะที่อีกข้างเคลื่อนไป
And though it in the center sit,
Yet when the other far doth roam,
It leans and hearkens after it,
And grows erect, as that comes home.
แม้จะอยู่กับที่ แต่ก็โน้มตัวชะเง้อคอยข่าวคราวอยู่เสมอ ครั้นเมื่อกลับมาจึงตั้งตรงดังเดิม แน่นอนว่าน่าจะมีอย่างอื่น erect ด้วย
Such wilt thou be to me, who must,
Like th’ other foot, obliquely run;
Thy firmness makes my circle just,
And makes me end where I begun.
วงเวียนก็เหมือนเราสอง น้องอยู่กับที่ พี่เดินทางไป และเพราะมีเธอปักหลักคอยอยู่ เราถึงรู้เส้นทางที่จะเดินทางไป มีจุดหมายปลายทางคือกลับมาหาเธอ เหมือนที่เข็มวงเวียนทำให้ขาอีกข้างขีดเส้นโค้งเป็นวงกลมที่สมบูรณ์ ย้อนกลับมาบรรจบ ณ จุดเริ่มต้นของการเดินทาง.. เข้
เกี่ยวกับผู้เขียน
Material Culture Studies
Design Anthropology
Capybara
- Saraj Sindhupramahttps://anthropologyyyyy.xyz/author/malinowski/
- Saraj Sindhupramahttps://anthropologyyyyy.xyz/author/malinowski/
- Saraj Sindhupramahttps://anthropologyyyyy.xyz/author/malinowski/
- Saraj Sindhupramahttps://anthropologyyyyy.xyz/author/malinowski/