DENGUE MOSQUITOES ARE SINGLE MOTHERS: Biopolitics Meets Ecological Aesthetics in Nicaraguan Community
อเล็กซ์ เอ็ม เนทดิงค์ (ALEX M. NADING ) เข้าไปศึกษาความสลับซับซ้อนของการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชนเมือง ใกล้ศูนย์สุขภาพ เขต ซิวดาส ซานดิโน (Ciudad Sandino) บ้านเรือนส่วนใหญ่สร้างติดกันอย่างแอดอัดหลายหมื่นครัวเรือน ขณะทีประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้น้อย และสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุม เช่นเดียวกับชุมนชนแอออัดในเขตเมืองของประเทศต่างๆ ชุมชนรอบศูนย์สุขภาพซิวดาสมักประสบกับปัญหาการระบาดของ ไข้เด็งกี (dengue fever) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อไข้เลือดออก มีพาหะนำโรคคือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในอัตราที่สูงกว่าบริเวณอื่น ปัจจัยหนึ่งมาจากบ้านเรือนส่วนใหญ่รายรอบไปด้วยกองขยะเหลือใช้รอแปรรูปที่เมื่อฝนตกและน้ำขังจึงกลายแหล่งเพาะพันธุ์ตัวอ่อนยุงลายชั้นดี (focas)
วิธีการหนึ่งที่สาธารณสุขใช้แก้ปัญหานอกจากการติดแผ่นไวนิลรณรงค์ถึงการหลีกเลี่ยงสร้างแหล่งกำเนิดโรค คือ การสร้างกลุ่มเฝ้าระวังยุงลาย โดยใช้อาสาสมัครในชุมชน (brigadistas) (คล้ายๆกับ อสม. ของไทย) คอยสอดส่องตามบ้านเรือนในละแวก ดูว่าครัวเรือนใดมีน้ำขังในภาชนะ หากพบยุงวางไข่ก็จะถูกตักเตือนเรื่องความเสี่ยง บ้านไหนมีผู้ป่วย หรือเด็กเล็กที่ต้องเฝ้าระวัง แต่แม้ว่ารัฐจะพยายามหาทางป้องกันทุกวิธีทาง ก็ยังไม่สามารถยับยั้งการระบาดของโรคจากยุงได้ ซึ่งคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสาเหตุหลักๆ มาจากการป้องกันโรคที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ประชาชนไม่ได้เคร่งครัดที่จะทำตามคำแนะนำของแพทย์
เนทดิงค์เก็บข้อมูลภาคสนามโดยเข้าไปเป็นสมาชิกของกลุ่มรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทุกวันเขาและทีมต้องออกสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและบ้านที่มีสมาชิกต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อไข้เลือดออก โดยมีอุปกรณ์เป็นแผ่นรายการเช็คลิส์ ช้อนพลาสติก ทรายเบส และอุปกรณ์เจาะทำลายภาชนะที่มีน้ำขัง สามาชิกกลุ่มเกือบร้อยละ 90 เป็นสตรี ที่ทำงานอยู่กับบ้านหรือเป็นแม่บ้านเป็นหลัก ส่วนสามีเข้าไปทำงานโรงงานในเมืองหลวง เนทดิงค์พบว่า การค้นหาลูกน้ำยุงลาย ได้กลายมาเป็นกิจกรรมที่สร้างสุนทรียภาพทางนิเวศ (ecological aesthetic) ให้กับสตรีเหล่านี้ หลายคนรู้สึกสนุกกับการออกไปสำรวจตรอกซอกซอยของเพื่อนบ้าน การเผชิญหน้ากับเพื่อนบ้านที่ไม่ต้อนรับ แม้แต่การวิ่งหนีสุนัขของเพื่อนบ้านข้ามรั้วลวดหนาม เหล่านี้ได้กลายมาเป็นสิ่งท้าทายให้กับพวกเธอ สตรีหลายคนอธิบายว่า ผลพลอยได้ด้านหนึ่งที่เธอได้รับจากงานนนี้คือ เธอได้ออกนอกบ้าน สำรวจละแวกบ้านและพบกับเพื่อนๆ และที่สำคัญเธอยังสามารถทำงานในบ้านได้ แม้สามีของพวกเธอจะไม่เห็นด้วยก็ตาม เนื่องจากค่านิยมส่วนใหญ่ยังไม่ยินดีให้ผู้หญิงทำงานนอกบ้าน
เนดิงค์ปรับเอาคำอธิบายของฟูโกต์เรื่องชีวการเมือง (biopolitics) และสุทรียศาสตร์ (aesthetics) มาอธิบายงานสนามของเขาบางส่วน เขาอธิบายว่าฟูโกต์มองสุทรียศาสตร์และชีวการเมืองเป็นสิ่งที่ตัดกันในสองทาง ทางแรกเป็นเรื่องในเชิงของเหตุผล การสำรวจและตีความสิ่งที่น่าสงสัย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ร่างกายและสภาพแวดล้อม เขาเสนอว่า ความรู้ของแต่ละคน ได้กลายมาเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ มากกว่าตัวเลือกของปัจเจกแต่ละคน ซึ่งในกรณีนี้ เนทดิงค์ ยกตัวอย่าง โครงการควบคุมไข้เด็งกี ครัวเรือนแต่ละหลังได้ถูกปลูกฝังให้รู้จัก สังเกต สงสัยและตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบๆบ้านของตนว่าเสี่ยงต้อการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายหรือไม่ ส่วนสุนทรียศาสตร์อีกมุมมองหนึ่งที่ไม่ได้วางอยู่บนความสงสัยหรือการตรวจสอบตนเอง แต่เป็นเรื่องของการสำรวจ,พัวพัน กระทั่งเรื่องของความสุข ในกรณีนี้เนทดิงค์ยกตัวอย่าง ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับยุงที่เกิดขึ้นในห่วงโซ่ของการกำจัดโรค ในทางหนึ่งสมาชิกรับเอาความรู้เกี่ยวกับสุขภาพและการป้องกันโรคเข้ามาไว้กับตัว พวกเขาต้องระวังและสงสัยสิ่งก่อโรคจากพาหะ แต่ในขณะเดียวกันกลับมีแรงปรารนาอันแรงกล้าที่จะอออกไป ล่ายุง และมันได้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความสุขให้กับพวกเขา ซึ่งเนทดิงค์เรียกว่า สุนทรียศาสตร์ทางนิเวศ
เนทดิงค์อธิบายว่ากิจกรรมดูแลชุมชนให้ปลอดโรค วางอยู่บนความสัมพันธ์ที่พัวพันซับซ้อน (entanglement) โดยเฉพาะระหว่างคนกับสัตว์ ซึ่งก็คือมนุษย์และยุงพาหะ (เจาะจงลงไปกว่านั้นว่าส่วนใหญ่เป็นยุงตัวเมียจีนัสเอเดส) ความสัมพันธ์ชุดนี้อยู่ในรูปของความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งเกลียด ที่ต่างฝ่ายต่างตั้งธงเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างโฮส์และพาหะ ในฐานะของพาหะนำโรคไข้เด็งกี ยุงลายจำต้องถูกกำจัดให้หมดไปจากชุมชน กระนั้นสมาชิกปราบยุงกับมีความสัมพันธ์ที่แบบแน่นกับสิ่งมีชีวิตที่พวกเขาเกลียดตั้งแต่ โดยเฉพาะการยกให้ยุงมีฐานะเทียเท่ากับมนุษย์ (anthropomorphize) ตั้งแต่การใช้สรรพนามเรียกยุงตัวเมียว่า “เธอ” หรือ “แม่” เช่น เธอสามารถวางไข่ได้ทุกที่ หรือ เธอได้เข้ายึดครองบ้านคุณ ตอดจนการนำยุงตัวเมียไปเปรียบเทียบกับ หญิงแม่เลี้ยงเดี่ยวโดยนักระบาดวิทยาเชื่อมโยงวัฎจักรชีวิตของยุงเข้ากับคำชุดคำอธิบายดังกล่าว เป็นต้นว่า ยุงที่เรากำลังล่า พวกเธอคือแม่เลี้ยงเดี่ยว พวกเธออุ้มทุ้ง ดูดเลือดไปเลี้ยงลูกและหาอาหารโดยลำพังราศจากยุงเพศผู้ที่ตายจากหรือหายไปหลังการผสมพันธุ์ กลายเป็นเรื่องตลกที่รู้กันเฉพาะเครือข่ายที่ทำงานพัวพันอยู่กับการปราบปรามโรคจากยุง
เนทดิงค์ขยายความต่อเรื่อยุงแม่เลี้ยงเดี่ยวว่า ภายใต้มุขตลกทางการแพทย์นั้นกลับแฝงไปด้วยความสัมพันธ์ฉันผู้หญิง สมาชิกสตรีอธิบายการล่ายุงของพวกเธอว่าเป็นงานที่เพศหญิงทำได้ดีกว่า เพราะเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะทางสังคมสูง และที่สำคัญเมื่อต้องเดินเข้าไปในบ้าน ผู้หญิงย่อมรู้จักบ้านดีกว่าผู้ชาย
อ้างอิง
NADING, ALEX M.. DENGUE MOSQUITOES ARE SINGLE MOTHERS: Biopolitics Meets Ecological Aesthetics in Nicaraguan Community Health Work
เกี่ยวกับผู้เขียน
รวิวรรณเป็นนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งสำนึกตัวเองว่าควรจะหยุดทำงานและมาเรียนให้จบ รวิวรรณมักกหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทุกข์ๆทางสังคม ก่อนจะพบว่ามันไม่พาไปไหน เลยเลิกสนใจความทุกข์และมาทำงานที่เหมือนจะสนุกอย่างเห็บเหาและเหล่าอมนุษย์เล็กๆที่อีรุงตุงนังอยู่ในร่างกาย