เพราะเราคือปรสิต
ปรสิต ( parasite ) เป็นชื่อเรียกรวมของสิ่งมชีวิตที่ดำรงชีพโดยอาศัยทรัพยากรจากสิ่งมีชีวิตอื่นทั้งโดยการเข้าไปอาศัยในร่าง เกาะอยู่ผิวภายนอกร่างกายของโฮสต์ (host) บางชนิดดำรงชีพจากโปรตีนในร่างของโฮสต์ ผ่านการ ดูด ดื่ม ปรสิตเป็นได้ทั้งพืช สัตว์แ และสิ่งมีชีวิตที่มีเล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ในทางชีวิวิทยา ปรสิตให้คุณมากกว่าโทษ แม้จะมีงานศึกษาบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า การมีปรสิตบางจำพวกอยู่ในร่างกายจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ภูมิต้านทานต่อน้ำลายเหา อาการคันอย่างรุนแรงจะลดลงหลังจากการติดเหาครั้งที่ 2 แต่ไม่ใช่มนุษย์ทุกรายที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันดังกล่าว โดยเฉพาะในการณีที่ถูปรสิตรุกรานคราวละหลายร้อยตัวพร้อมๆกัน
ปรสิตมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน ปรากฏขึ้นราวศตวรรษที่ 16 ในประเทศกรีก คำว่า parasitos หมายถึงบุคคลที่กำลังกินอาหารบนโต๊ะอาหารของผู้อื่นโดยไม่ได้รับการเชื้อเชิญ หรือที่เรียกกันว่า แขกไม่ได้รับเชิญ parasitos เกิดจากการวมกันของคำว่า para- (‘alongside’) กับคำว่า sitos (food) ขณะที่ คำว่า hote ในภาษาฝรั่งเศสใช้เรียกทั้งแขก guest และ host เจ้าบ้าน ในภาษาอังกฤษ ในศตวรรษนั้น คำว่าปรสิตมักใช้เรียกสัตว์ฟันแทะจำพวกหนู ที่เข้ามาขโมยอาหารบนโต๊ะกินข้าวและพืชพรรณในยุ้งฉางของชาวนา
ในงานเขียนเรื่อง อยู่อาศัยกับปรสิต ใน อยุทยานเปาโลโวเวอร์ดา (living with parasites in palo verde national park 2012) ของ อีเบน ไครส์กี้ (Eben Kirksey 2012) ศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตหลากสายพันธ์ตั้งแต่ พืช สัตว์ มนุษย์ ที่ใช้ชีวิตเกิด แก่ ตาย ไปด้วยกันในอุทยานในคอสตาริกา โดยพิจารณาว่าเหล่าสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้นสร้างโลกของพวกเขาบนความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันอย่างไรโดยเฉพาะเมื่อต่างฝ่ายต่างมองอีกฝั่งเป็น “ปรสิต” ที่รบกวนชีวิตประจำวันของกันและกัน
ประเด็นสำคัญในงานของไครส์กี้คือการพยายามชี้ให้เห็นว่า ภาวะความสัมพันธ์แบบปรสิตนั้นไม่ตายตัวและคงเส้นคงวา สามารถเป็นสปีชีส์ใดก็ได้ และไม่เฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่สามารถนิยามหรือจัดวางรูปแบบดังกล่าวให้อีกฝ่ายเพียงผู้เดียว เพราะสิ่งมีชีวิตอื่นก็สามรถมองมนุษย์เป็น สิ่งรบกวน หรือ แขกไม่ได้รับเชิญได้เช่นกัน ไคร์สกี้ยกตัวอย่างคู่ความสัมพันธ์ระหว่างฝูงเป็ดชาวนา และนักล่าเป็ดจากเมืองหลวง สำหรับชาวนา เป็ดจำนวนมหาศาลคือภัยคุกคามที่รบกวนการเกษตร เพราะต้นอ่อยของข้าวคืออาหารหลักของเป็ด ดังนั้นในช่วงเริ่มเพาะปลูก ชาวนาจึงต้องจัดเวรยามผลัดกันเฝ้าทุ่งนาตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อคอยไล่เป็ดออกจากทุ่ง รวมถึงสร้างหุ่นไล่กาที่จำลองการแต่งกายของนักล่าเป็ดพร้อมกับแขวนปืนไรเฟิลปลอม เพื่อเขย่าขวัญเหล่าเป็ด ในขณะที่เป็ดเองกลับมองเหล่านักล่าเป็ดเป็นปรสิตที่สร้างความรบกวนเช่นเดียวกัน เพราะต้องคอยหลบหลีกการตามล่าที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตประจำวันและกระชั้นถี่ขึ้นในช่วงเทศกาล
” ภาวะความสัมพันธ์แบบปรสิตนั้นไม่ตายตัวและคงเส้นคงวา สามารถเป็นสปีชีส์ใดก็ได้….
ทุกสปีชีส์ล้วนกลายมาเป็นปรสิตของอีกฝ่ายได้เสมอ “
ไครส์กี้ชี้ว่า สิ่งมีชีวิตใดก็ตามถูกหยิบยื่นสถานะความเป็นปริสิตให้ หมายคามว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถที่จะถูกกำจัดได้อย่างชอบทำ ในฐานะของผู้รุกราน เขายกตัวอย่าง cakttail พืชตระกูลอ้อที่มีคุณสมบัติพิเศษคือทนต่อการทำลาย แม้ต้นจะถูกตัดจนเตียนแต่อ้อชนิดนี้ยังสามารถงอกใหม่ได้โดยอาศัยอาหารจากราดที่ฝังตัวแน่นในดิน ดังนั้นการทำลายพืชชนิดนี้จึงต้องอาศัยเทคโนโลยีทางการเกษตรเข้าช่วย เช่น รถไถคราดขุดราก ต้นอ้อเหล่านี้เพิ่งจะได้รับสถานะของปรสติเมื่อไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ในอดีตก่อนที่มนุษย์และระบบทุนนิยมการเกษตรจะขยายตัวมายังบริเวณใกล้เขตอุทยาน พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยพืชหลากสายพันธุ์และสัตว์หลายกลุ่ม แต่เมื่อมนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่ทำการเกษตร รูปแบบของระบบนิเวศได้เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการลดความหลากหลายทางระบบนิเวศ ในขณะที่ต้นอ้อได้กลายมาเป็นอุปสรรสำคัญในการทำการเกษตร ต้นอ้อจึงสามารถที่จะถูกกำจัดได้ เพราะการมีอยู่ของพวกมันรบกวนกิจกรรมของมนุษย์ เช่นเดียวกับฝูงเป็ดที่เป็นปรสิตตัวฉกาจของชาวนา แต่ก็เฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
อ้างอิง
Kirksey, E. (January 01, 2012). Living With Parasites in Palo Verde National Park. Environmental Humanities, 1, 1, 23-55.
Serres, M. (2013). The parasite. Minneapolis, MN: University of Minnesota Press.
เกี่ยวกับผู้เขียน
รวิวรรณเป็นนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งสำนึกตัวเองว่าควรจะหยุดทำงานและมาเรียนให้จบ รวิวรรณมักกหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทุกข์ๆทางสังคม ก่อนจะพบว่ามันไม่พาไปไหน เลยเลิกสนใจความทุกข์และมาทำงานที่เหมือนจะสนุกอย่างเห็บเหาและเหล่าอมนุษย์เล็กๆที่อีรุงตุงนังอยู่ในร่างกาย