Skip to content

อยู่และตายไปกับหมากินซาก: ชีวิตและความตายในพื้นที่หลากสายพันธุ์

Life and death in the multispecies commons

Multispecies commons หมายถึง สถานที่/ พื้นที่ ที่มนุษย์และสัตว์เข้ามาสร้างความสัมพันธ์และข่ายใยอันสลับซับซ้อน  (zone of entanglement) ทั้งในทางสังคมและชีววิทยา ในงานเขียนเรื่อง ชีวิตและความตายในพื้นที่หลากสายพันธุ์ (Life and death in the multispecies commons 2013) ของ มาคัส เบนส-ร็อค (Marcus Baynes-Rock) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนและไฮยีน่า ในเมือง ฮารา (Harar) เอธิโอเปีย โดยใช้แนวคิด พื้นที่หลากสายพันธุ์เข้ามาอธิบาย ร็อคตั้งคำถามว่า สิ่งมีชีวิตสองสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณใกล้กัน และอยู่ร่วมกัยในบ้างครั้งนั้นร่วมกัน (co-shaping) สร้างโลกของพวกเขาขึ้นมาอย่างไร

ที่ฮารา ร็อคเข้าไปศึกษาพื้นที่ทางการค้า อาร์ก๊อบเบอร์รี (‘Argobberi’) ในย่านเมืองเก่า ล้อมด้วยแนวกำแพงสูงอันเก่าแก่ สร้างขึ้นเพื่อปกป้องเมืองจากผู้รุกรานในอดีต ในเวลากลางวัน อาร์ก๊อบเบอร์รีเป็นที่รู้จักกันในประตูทางการค้าระหว่างเมือง และแหล่งขายใบกั๊ท (chat) พืนพื้นเมืองที่ให้สารกระตุ้นประสาทใกล้เคียงกับยาเสพติด แต่หลังตะวันตกดิน อาร์ก๊อบเบอร์รี กลายเป็นพื้นทีของเหล่าไฮยีน่าฝูงต่างๆ ที่เข้ามาคุ้ยเขี่ยหาอาหารหลังตลาดปิด นอกจกนี้ยังมีกิจกรรมป้อนอาหารไฮยีน่าที่จัดขึ้นสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการความท้าทาย

ร็อคกอธิบายว่าชาวเมืองฮารานั้นมีประวัติศาสต์ร่วมกับไฮยีน่ามราอย่างยาวนาน ก่อนที่แอฟริกาจะถูกมนุษย์เข้ายึดครอง พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นของไฮยน่ามาก่อนและทยอยลดจำนวนลงเรื่อยๆเมื่อมนุษย์เข้ามาทำการเกษตรและสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย ร็อคพบว่าจำนวนไฮยีน่าที่ฮารานั้นมีมากกว่าในเมืองอื่น ซึ่งหากสืบย้อนกลับไปจะพบว่าเอธิโอเปียเป็นประเทศเดียวในทวีปที่ไม่ถูกเจ้าอาณานิคมเข้ายึดครอง ขณะที่จุดเปลี่ยนสำคัญคือ การขึ้นสู่อำนาจของกษัรตย์เชื้อสายมุสลิม สนับสนุนให้ชาวเมืองทำการเกตรแบบดั้งเดิมทำให้พื้นที่ของไฮยีน่าจึงไม่ถูกรบกวนมากนัก อีกทั้งชาวเมืองส่วนใหญ่เป็นมุสลิมจึงไม่นำสัตว์เท้ากีบ เช่น ลา ซึ่งเป็นหนึ่งอาหารของไฮยีน่ามาบริโภค

ร๊อคพบว่าชาวเมืองกับไฮยีน่านั้นคล้ายกับมีกฏและภาษาที่สร้างร่วมกันขึ้นมา เขายกตัวอย่างพฤติกรรมของฝูงไฮยีน่าต่างกลุ่ม ที่จะงดเว้นการทะเลาะเบาะแว้งกันในเขตเมืองที่มีชาวเมืองพลุกพล่าน และจะปล่อยสิ่งปฏิกูลลงถนนแทนเพื่อประกาศเขตแดนของฝูงตน และจะแสดงกิริยาที่ดูอ่อนน้อมถ่อมตนมากกว่าคุกคามเมื่อมนุษย์นำอาหารมาให้ ร๊อคยังพบว่าไฮยีน่าสามารถตอบโต้มนุษย์ในลักษณะเดียวกับการยกพวกมารุมเพื่อทวงหาความยุติธรรม เขายกตัวอย่างการแก้แค้นของไฮยีน่าต่อมานุษย์ เมื่อสมมาชิกในฝูงตัวหนึ่งถูกชาวเมืองวายา ตัวที่เหลืออื่นๆจึงยกพวกมาล้อมบ้าน

ชาวเมืองฮารากำลังให้อาหารไฮยีน่าลายจุด

ขณะที่ชาวเมืองเองก็ไม่ได้รังเกียจหรือกลัวไฮยีน่าแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม ชาวฮารากลับปฏิบัติและยกให้ไฮยีน่าเทียบเท่ากับมนุษย์ พวกเขาเชื่อว่าไฮยีน่ามีสมองและความรู้สึกนึกคิดเหมือนกับมนุษย์ เขายกตัวอย่างการที่ผู้นำชุมชมทำศพไฮยีน่าที่ถูกวางยาในแบบเดียวกับที่ทำให้กับชาวเมืองที่เสียชีวิตตามพิธีทางอิสลาม ตั้งแต่การสวดส่งวิญาณ และห่อร่างด้วยพรม หรือในกรณีที่พยายามช่วยชีวิตไฮยีน่าที่กินยาเบื่อหนูเข้าไปแบบเดียวกับที่ทำต่อสมาชิกในเมืองที่ได้รับสารพิษ ตั้งแต่การพ่นควันเข้าทางจมูก บีบมะนาวใส่ปากเพื่อให้ไปล้างสารพิษในท้อง ตลอดจนการจดจำลักษณะของไฮยีน่าในแบบที่จดจำเพื่อนมนุษย์ คือ การจดจำลักษณะนิสัยของพวกเขาแต่ละฝูงและตั้งชื่อให้ มากกว่าการจำแนกจากลวดลายบนผิวหนังและหน้าตา

ในด้านความเชื่อทางศาสนา ไฮยีน่าถูกยกให้เป็นสิ่งที่คอยกำจัดอันตรายอันลี้ลับที่มากับปีศาจหรือมนุษย์ ที่เรียกว่า ญิณ (Jinn) พวกเขาเชื่อว่าไฮยีน่าสามารถมองเห็นและสัมผัสกับญิณได้ และในบางครั้งไฮยีน่าจะช่วยกำจัดญิณที่เป็นอันตรายด้วยการกินมันเข้าไป ซึ่งความเชื่อนี้สอดรับกับการที่ผู้นำชุมชนทำพิธีทางศาสนาให้กับไฮยีน่าที่ถูกวางยาจนตาย

การใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างคนและสัตว์นั้นมักถูกมองในแง่ของการรุกรานพื้นที่ของสัตว์ หรือทำให้สัตว์เปลี่ยนจากสัตว์ป่าหรือพฤติกรรมดังเดิม เช่น การเข้ามาหากินในเมือง เปลี่ยนพฤติกรรมการหาอาหารจากการล่ามาคุ้นขยะตามบ้านเรือนของมนุษย์ ซึ่งเขามองว่าการอธิบายเช่นนี้ในบางครั้งอาจจะละเลยความสัมพันธ์และมิติทางสังคมระหว่างคนกับสัตว์ และพยายามแช่แข็งความ “แท้” ของสัตว์ เช่น การพยายามแช่แข็งความเป็นไฮยีน่าที่ต้องอยู่ในทุ่งหญ้าและคอยล่าหรือกินซาก โดยตัดขาดจากการข้องแวะกับมนุษย์ แต่ในกรณีของชาวฮาราและเหล่าไฮยีน่านั้นจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นภัยต่อกัน ในทางตรงกันข้ามเมื่อมนุษย์เข้ามาใช้พื้นที่ร่วมกับสัตว์ ทั้งคู่ได้วางกติการ่วมกันขึ้นมาใหม่เพื่ออยู่ร่วมกัน

 

อ้างอิง

Baynes-Rock M. 2013. “Life and death in the multispecies commons”. Social Science Information. 52 (2): 210-227.

 

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Raviwan

รวิวรรณเป็นนักเรียนมานุษยวิทยาที่เพิ่งสำนึกตัวเองว่าควรจะหยุดทำงานและมาเรียนให้จบ รวิวรรณมักกหมกมุ่นอยู่กับเรื่องทุกข์ๆทางสังคม ก่อนจะพบว่ามันไม่พาไปไหน เลยเลิกสนใจความทุกข์และมาทำงานที่เหมือนจะสนุกอย่างเห็บเหาและเหล่าอมนุษย์เล็กๆที่อีรุงตุงนังอยู่ในร่างกาย

Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
ดูทั้งหมด