Skip to content

หนังสือที่อ่านในปี 2018

ในชีวิตนี้มีหนังสือจำนวนมากที่อ่านแล้วผ่านไป แต่มันก็มีเล่มที่อ่านแล้วไม่ผ่านไป ในปีนี้ก็เช่นกัน สิริรวมเรื่องที่ยังอ่านแล้วทรงพลังมาจนถึงปลายปีมี 7 เล่มดังนี้

1) The Undoing Project (2017), Michael Lewis – ไมเคิล ลูอิสนี่เล่าเรื่อง non-fiction ได้บันเทิงมาก สนุกราวกับอ่านนิยาย นางเป็นเจ้าของหนังสือหลายเล่มที่ฮอลลีวู้ดซื้อลิขสิทธิ์ไปทำหนังเช่น The Blind Side, The Big Short, Moneyball, ฯลฯ ไม่เคยอ่านหนังสือลูอิสเลย แต่มาอ่านเล่มนี้เพราะเล่าเกี่ยวกับ ศาสตราจารย์จิตวิทยา 2 คน ที่ถือว่าให้กำเนิด “เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม” คือ Amos Tversky และ Daniel Kahneman ลูอิสเล่าเรื่องการร่วมงานกันกว่า 20 ปีของสองคนนี้ในธีม “the unlikely couple” คือ คู่ที่ไม่น่าจะมาอยู่ด้วยกันได้ (ในที่นี้ไม่ใช่เชิงชู้สาว ทั้งคู่ไม่ใช่เกย์ ต่างก็แต่งงานมีลูก) แต่กลับเข้าข้ากันได้ดีมากในการทำงาน เหมือนเป็น “คู่แต่งงานทางวิชาการ” ของกันและกัน ในขณะที่ Daniel เป็นคนมองโลกในแง่ร้าย (ส่วนหนึ่งจากประสบการณ์การเป็นยิวตอนเด็กที่ต้องหนีตายรักษาชีวิต) Amos กลับมองโลกในแง่ดีมาก หนังสือเล่าตั้งแต่ชีวิตก่อนเจอกัน จนกระทั่งเจอกันแล้วทุ่มเทหลายปีในการเขียนเปเปอร์เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม จนกระทั่งแยกทาง

Favorite Quote: “Amos…had decided pessimism was stupid. When you are a pessimist and the bad thing happens, you live it twice.” (การมองโลกในแง่ร้ายเป็นเรื่องไร้สาระ เกิดสิ่งร้ายๆ เกิดขึ้นจริง แล้วคุณมองโลกในแง่ร้ายไปแล้ว ก็เท่ากับคุณต้องเจอสิ่งเลวร้ายซ้ำสองรอบ)

2) call me by your name (2007), Andre Aciman – อ่านเพราะคลั่งหนังเป็นบ้าเป็นหลัง ต่อให้รู้โครงเรื่องจากหนัง หนังสือเล่มนี้ก็ยังพิเศษมากๆ อยู่ดี นอกจากสำนวนภาษาที่โรแมนติกแต่ไม่ขาดๆ เกินๆ จำได้ ณ จุดหนึ่งทีอ่านอยู่ หนังสือช่วยเปิดสามัญสำนึกว่า คนสองคนสามารถรู้สึกดีต่อกันโดยข้ามเรื่องเพศไปเลยได้อย่างไร ราวกับว่าเรื่องเพศไม่เคยอยู่ตรงนั้นและไม่เคยเป็นปัจจัย เป็นหนังสือที่เฉลิมฉลองความสัมพัันธ์มนุษย์มากๆ

Favorite Quote: “If you remember everything, I wanted to say, and if you are really like me, then before you leave tomorrow, or when you’re just ready to shut the door of the taxi and have already said goodbye to everyone else and there’s not a thing left to say in this life, then, just this once, turn to me, even in jest, or as an afterthought, which would have meant everything to me when we were together, and, as you did back then, look me in the face, hold my gaze, and call me by your name.”

3) The Remains of the Day (1988), Kazuo Ishiguro – เป็นนิยายที่สมคำโปรย “One of the best books of the decade” มากๆ ตอนอ่านอยู่คือ รู้สึกทึ่งหลายรอบมากว่าเขาเขียนได้ยังไง คือ ทำยังไงที่สร้างคาแรกเตอร์ที่หลอกตัวเอง แถมคนอ่านก็จับได้ว่าสิ่งที่เขากำลังบรรยายคือสิ่งที่กำลังหลอกตัวเอง เป็น irony ซ้อน irony ทั้งในโลกของหนังสือและโลกของคนอ่านหนังสือ ตัวละครหลักของนิยายเรื่องนี้คือ หัวหน้าพ่อบ้าน (ตำแหน่ง Butler) ในโลก aristocracy ที่กำลังค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง ธีมของหนังสือเล่มนี้สำรวจประเด็นที่นิยายที่เคยอ่านมาไม่ได้สำรวจ คือ misguided loyalty – ถ้าคุณจงรักภักดี แต่จงรักภักดีไม่ถูกฝั่ง แต่คุณก็ทำหน้าที่ีของตัวเองอย่างสุดความสามารถแล้ว คุณควรจะเข้าใจความหมายของชีวิตคุณว่าอย่างไร อีกธีมหนึ่ง คือ failure to feel (อันนี้ฟังสัมภาษณ์ Kazuo Ishiguro ทีหลัง เขาใช้คำนี้แล้วรู้สึกว่ามันใช่เลย) คนเขียนบอกว่าเขาต้องการ explore คนที่ fail to feel คือ ล้มเหลวในการจะรุู้สึก ซึ่งตัวเอกของเรา เมื่อทุกครั้งที่เขาจะต้องรู้สึกไปไกลกว่าที่ตัวเองเคยรู้สึกมา เขาจะปฎิเสธที่จะยอมรับความรู้สึกใหม่ๆ หรือเฉไฉไม่ยอมรับไปเสีย

Favorite Quote: น่าจะมี แต่ไม่ได้มาร์คไว้ หาไม่เจอแล้ว

4) Sapiens: A Brief History of Humankind (2014), Yuval Noah Harari – เคยพุดถึงไปหลายรอบแล้ว สามารถหาอ่านได้ในโพสต์ก่อนหน้านี้
https://anthropologyyyyy.xyz/author/pinkiologist/ ณ ตอนนี้มุมมองต่อเนื้อหาในหนังสืออาจจะเปลี่ยนไปบ้าง (พอเรียนเยอะๆ รุ้สึกว่า Sapiens มันเล่าห้วน + ลดทอนเสียเหลือเกิน) แต่เราว่าคุณูปการของเซเปียนคือ มันทำให้การเห็นโลกในสเกลหมื่นๆ ปีเป็นเรื่องสามัญ ให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายๆ คนที่อยากรู้เพิ่มก็ไปศึกษาต่อได้

Favorite Quote: “We hold these truths to be self-evident, that all men evolved differently, that they are born with certain mutable characteristics, and that among these are life and the pursuit of pleasure.”

5) The Immortal Life of Henrietta Lacks (2010), Rebecca Skloot – อันนี้ก็ชื่นชมไปหลายรอบมากๆ สามารถหาอ่านได้ที่ลิงค์เดียวกัน https://anthropologyyyyy.xyz/author/pinkiologist/ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งสุดยอด non-fiction ที่เคยอ่านมาในชีวิต วิธีการเล่าเรื่องบาดใจและละเมียดละไมมาก หลักๆ คือ Rebecca Skloot ไปศึกษาเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับครอบครัว Lacks ซึ่งสัมพันธ์กับ Henrietta Lacks ผู้ที่ให้กำเนิด การเพาะเซลล์ในห้องทดลอง (Cell Culture) เพราะเซลล์เธอไม่ยอมตาย (เป็นเซลล์แรกในประวัติศาสตร์) แถมยังแพร่พันธ์ได้อย่างไม่รู้จบ ช่วยให้การแพทย์ก้าวหน้าอย่างมหาศาล แต่ทั้งหมดที่เกิดขึ้นทั้งตัว Henrietta และลูกหลานไม่เคยรู้เรื่องเลย

Favorite Quote: “But I always have thought it was strange, if our mother cells done so much for medicine, how come her family can’t afford to see no doctors? Don’t make no sense. People got rich off my mother without us even knowin about them takin her cells, now we don’t get a dime. I used to get so mad about that to where it made me sick and I had to take pills. But I don’t got it in me no more to fight. I just want to know who my mother was.”

6) Debt: The First 5,000 Years (2011), David Graeber – ตั้งแต่อ่านมา นี่เป็นหนังสือ Anthropology ที่สนุกที่สุดแล้วมั้ง คือ ในเชิงการเล่าคนเขียนเล่าเรื่องสนุกมาก อ่านแล้วว้าวแล้วว้าวอีก จะซื้อไอเดียที่เขาเสนอหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง หนึ่งในประเด็นหลักๆ เขาเถียงว่า คนมักจะเข้าใจว่า จุดกำเนิดของเงิน คือ ระบบบาร์เตอร์ –> เงิน อยู่ๆ ดีวันหนึ่งเงินก็เกิดขึ้นมาเพื่อมาแทนการแลกเปลี่ยน แต่ Graeber บอก bullshit! เงินมันเกิดมาจากการที่คนเป็นหนี้ต่างหาก นางสืบประวัติเป็นพันๆ ปีเพื่อจะยืนยันว่า เงิน (ที่เป็นกระดาษแบบที่เราเข้าใจกัน) นั้นโดยส่วนใหญ่ของโลกใบนี้เกิดมาจากสัญญาชำระหนี้ต่างหาก ซึ่งสัญญาชำระหนี้จะเกิดได้ก็ต่อเมื้อหนี้ไม่ถูกชำระคืน ทำให้การมีหนี้ในระบบกลายเป็นพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ในโลกตะวันตกทั้งหมด โดยหลักๆ นางมี political agenda ว่าเงินเป็นเครื่องมือทางการเมือง ดังนั้น พวกหนี้ที่ประเทศโลกที่สามติดกับโลกประเทศที่หนึ่งนั้นควรจะยกเลิกไปให้หมด แม้จะมีประเด็นที่ไม่เห็นด้วยแต่คุณงามความดีของหนังสือเล่มนี้ คือ ทำให้เห็นถึงความเจ๋งของการศึกษา “หัวข้อ” ผ่านประวัติศาสตร์ที่กินระยะเวลายาวนานมากๆ (อารมณ์เดียวกับเซเปียน) พอศึกษาอะไรผ่านประวัติศาสตร์แล้วมันทำลายสามัญสำนึกหรือสิ่งที่เราเข้าใจว่า “เป็นไปเองโดยธรรมชาติ” ได้ง่าย ทำให้เราต้องมานั่งตั้งคำถามกับทุกสิ่งที่เคยเข้าใจ

Favorite Quote: เคยมี แต่ไม่มีแล้ว

7) The God of Small Things (1997), Arundhati Roy – (ยังอ่านไม่จบ) กำลังอ่านอยู่ตอนนี้แล้วอินมากๆ ไม่เคยอ่านวรรณกรรมอินเดียเลย เจออันนี้เข้าไปนี่แทบตั้งสติไม่อยู่ ยิ่งอ่านตอนใกล้เมนส์มาคืออินมาก มันจะซึมลึก เศร้าลึก แต่ไม่ร้องไห้ เขามีวิธีการเล่าที่เฉพาะตัว มีภาษาเฉพาะตัว หลายครั้งมากๆ ที่เขาจะเล่าอะไรที่เราอ่านแล้วไม่รู้เรื่องเลยแม้แต่น้อย จนเรางง แต่พอผ่านไปสักบทสองบท มันจะเมคเซนส์ขึ้นมาอย่างอัศจรรย์ (บางทีต้องผ่านไปเป็น 10 บท) นิยายเล่มนี้เล่าถึงชีวิตครอบครัวหนึ่งในเมือง Ayemenem ที่เปลี่ยนไปตลอดกาลจากเหตุการณ์หนึ่ง (ซึ่งอ่านมา 3 ใน 4 แล้วก็ยังไม่รู้ว่าเหตุการณ์อะไร) ภายใต้ชีวิตครอบครัวคือบรรยากาศการเปลี่ยนแปลงของสังคม การที่คนผิวขาวได้รับการยกย่องมากกว่าคนท้องที่ การแบ่งวรรณะ ปัญหาของการเป็นผู้หญิง ความยากจน ความสุขของสิ่งเล็กน้อยในชีวิตประจำวัน การที่ small things สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตได้อย่างไร

Favorite Quote: 
“Still to say that it all began when Sophie Mol came to Ayemenem is only one way of looking at it.
Equally, it could be argued that it actually began thousands of years ago. Long before the Marxists came. Before the British took Malabar…long before Christianity arrived in a boat and seeped into Kerala like tea from a teabag. 
That it really began in the days when the Love Laws were made. The laws that lay down down who should be loved, and how.
And how much.”

เกี่ยวกับผู้เขียน

Subscribe
Notify of
guest

0 Comments
Inline Feedbacks
ดูทั้งหมด